แนวเชิงปฏิบัติ (10 คะแนน)

    ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการจัดบริการห้องสมุดและสื่อการสื่อศึกษา เพียงแห่งเดียวของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีอาคารสำหรับดำเนินงานสำนักงานและอาคารสำหรับให้บริการรวม 2 อาคาร กล่าวคือ

          อาคารบรรณสาร 1 เปิดดำเนินการ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 เป็นอาคารสูง 3 ชั้น มีพื้นที่ทั้งหมด จำนวน 6,828 ตารางเมตร 

          อาคารบรรณสาร 2 เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นอาคารสูง 4 ชั้น มีพื้นที่ทั้งหมด จำนวน 7,993 ตารางเมตร

         ทั้งนี้ในการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินห้องสมุดสีเขียว หมวดที่ 2 โครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา จัดอยู่ในประเภทอาคารเก่า พื้นที่ดำเนินการประกอบด้วย อาคารบรรณสาร 1 และอาคารบรรณสาร 2 (แผนผังอาคารบรรณสาร) รวมทั้งสิ้น 19,421 ตารางเมตร พื้นที่สำนักงาน (อาคาร) 14,821 ตารางเมตร และพื้นที่รอบสำนักงาน (อาคาร) ที่เกี่ยวข้อง 4,600 ตารางเมตร) ศูนย์บรรณสารฯ ได้ดำเนินการ ดังนี้

1. มีการศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิมที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยการนำข้อมูลการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ของ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ประกอบกับมีทรัพยากรสารสนเทศ ครุภัณฑ์ ปริมาณเพิ่มมากขึ้น และอาคารมีอายุการใช้งานยาวนานหลายปี อาจมีโครงสร้างเสื่อมสภาพ หรือ ปัญหาทรุดตัวแตกร้าว ศูนย์บรรณสารฯ จึงได้มีหนังสือขอความอนุเคราะห์ไปยังคณบดีสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อขอให้ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักวิชาฯ ตรวจสอบและวิเคราะห์สภาพอาคาร พร้อมทั้งขอความอนุเคราะห์ส่วนอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สำรวจสภาพอาคารบรรณสาร อันจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการอนุรักษ์พลังงาน และภาวะสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับปรุงอาคารให้มีมาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน การให้บริการ เสริมสร้างบรรยากาศแหล่งเรียนรู้และบริการสื่อการศึกษาอย่างมืออาชีพ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามแผนพัฒนาศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ปี พ.ศ. 2566-2570

2. มีแผนงานและมาตรการการปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรมหรือวัสดุประกอบอาคาร หรือมาตรการอื่นเทียบเท่า ให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยศูนย์บรรณสารฯ ได้รวบรวมข้อมูลจากระบบ MIS ในการแจ้งปรับปรุง ซ่อมบำรุง อาคารบรรณสารจากฐานข้อมูล งานบริการส่วนอาคารสถานที่และจากผลการสำรวจความพึงพอใจต่อบริการห้องสมุด ศูนย์บรรณสารฯ ประจำปีการศึกษา  มาใช้เป็นข้อมูลประกอบในการวางแผน วิเคราะห์ ปรับปรุงอาคาร ในเรื่องต่อไปนี้

2.1 การปรับปรุงโครงสร้างอาคารและวัสดุประกอบอาคารให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่น
        การนำแนวคิดอารยสถาปัตย์ หรือ Universal Design เป็นการออกแบบเพื่อให้ทุกคนได้มีสภาพแวดล้อม การใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบาย สามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้โดยไม่เกิดอุปสรรคในการใช้ชีวิต ได้ทุกเพศทุกวัย รวม ผู้ทุพพลภาพ โดยจัดให้มีรถเข็นผู้ป่วย ที่จอดรถ ทางลาดสำหรับรถเข็น และห้องน้ำสำหรับผู้ทุพพลภาพ ที่เข้ามาใช้อาคารบรรณสาร
        นอกจากนี้ ยังนำผลจากการวิเคราะห์อาคารและข้อเสนอแนะ  มาปรับปรุงอาคาร เช่น เปลี่ยนฝ้าเพดานที่เป็นเชื้อรา การอุดรอยร้าวผนังอาคาร ทาสีโทนเย็นเพิ่มความสบายตา และติดวอลเปเปอร์ เปลี่ยนพื้นพรมเป็นการปูพื้นด้วยกระเบื้องยาง เปลี่ยนบานประตูไม้อัดโซนสำนักงานที่มีสภาพบวม บานประตูตก เป็นประตูกระจก และประตูบานเลื่อนเพื่อความสะดวกในการใช้งาน ห้องพิมพ์เอกสารกั้นด้วยกระจกเป็นสัดส่วนป้องกันสารมลพิษ ทำหลังคาทางเชื่อมระหว่างอาคารบรรณสาร 1 และอาคารบรรณสาร 2 การประกันอาคารเพื่อป้องกันทรัพย์สิน มีการกำจัดปลวก โดยการอัดฉีดสารเคมีชนิดน้ำลงดิน การพ่นหมอกควันกำจัดยุง เพื่อป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค และสร้างเสริมสุขภาพที่ดีของผู้ใช้อาคาร การปรับปรุงหรือการก่อสร้างหรือต่อเติมอาคาร มีการทำป้ายสื่อสารอย่างชัดเจนว่าเป็นเขตพื้นที่ อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง ซ่อมบำรุง ทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ เพื่อแจ้งผู้ใช้อาคารได้ทราบ

 

2.2 การปรับปรุงระบบปรับอากาศให้มีประสิทธิภาพ

          อาคารบรรณสารเป็นอาคารที่มีระบบเครื่องปรับอากาศแบบรวมศูนย์ โดยมีแผนการปฏิบัติงานบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ แผนดำเนินการซ่อมบำรุง ตามสัญญา [ภาพกิจกรรม] และมีเจ้าหน้าที่จากส่วนอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ให้คำแนะนำในการดูแลระบบปรับอากาศ [เอกสารและภาพกิจกรรม] มีการเพิ่มความถี่ในการทำความสะอาด และมีการซ่อมบำรุง แก้ไขเปลี่ยนอะไหล่ตามอาการ ปัจจุบันอาคารบรรณสาร มีเครื่องปรับอากาศ

1) แบบแยกส่วนที่มีขนาดไม่น้อยกว่า 100,000 BTU/hr. ชนิดต่อท่อลม แบบ SPLIT TYPE
2) แบบขนาดเล็ก
3) เครื่องปรับอากาศ VRF AIR (ห้องค้นคว้าเดี่ยว 1-32) 

         นอกจากนี้ศูนย์บรรณสารฯ ได้มีติดตั้งพัดลมช่วยเสริมความเย็นและกระจายความเย็นด้วยพัดลมในจุดบริเวณที่มีพื้นที่บริการบริเวณกว้าง เช่น บริเวณโถงอาคาร 1 และในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มหาวิทยาลัยมีนโยบายการในการป้องกันละลดปัญหาเชื้อราในระบบปรับอากาศ โดยการฉีดสเปรย์น้ำยาฆ่าเชื้อโรคเข้าไปที่ช่องหน้ากากแอร์เพิ่มเติม

2.3 การปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน

          อาคารบรรณสาร มีแผนดำเนินการกำหนดการวัดความเข้มแสงสว่างอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี และนำค่าตรวจวัดที่ได้มาทำการประเมิน เพื่อนำผลมาปรับปรุงระบบส่องแสงสว่างให้มีความเข้มของแสงสว่าง ให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานที่ได้มีการกำหนดไว้ มีการปรับปรุงพื้นที่ที่แสงสว่างไม่เพียงพอ เปลี่ยนหลอดไฟ จากชนิดธรรมดาเป็นหลอด LED เปลี่ยนโคมหน้าอะคริลิค (ฝังฝ้า) เป็นแบบโคมตะแกรงแบบฝังฝ้า ทั้งนี้ได้ปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากทางมหาวิทยาลัย จัดทำแผนผังสวิตซ์ไฟและสติ๊กเกอร์การเปิด-ปิดไฟในแต่ละชั้นตามการใช้งาน นอกจากนี้ยังได้ให้การสนับสนุนและให้ความร่วมมือต่อกิจกรรมการเรียนการสอน ในการฝึกปฏิบัติการเก็บตัวอย่างด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิชาอาชีว อนามัยและความปลอดภัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์  [รายงานผลการตรวจวัดความเข้มแสงสว่าง] [ภาพกิจกรรม] ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2565 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้เข้าร่วมประกวด SUT Energy Challenge ครั้งที่ 1 เพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้าระหว่างเดือนเมษายน – เดือนสิงหาคม 2565 ของ 19 กลุ่มอาคารภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยอาคารบรรณสาร 1-2 ได้รับรางวัลดีเด่น อันดับ 2 [อ่านเพิ่มเติม],

2.4 การเพิ่มพื้นที่สีเขียว

          ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มีแนวปฏิบัติการดูแลพื้นที่สีเขียวของอาคารบรรณสาร เพื่อให้บริเวณรอบอาคาร มีความสวยงาม ร่มรื่น และมีความน่าอยู่ ตามนโยบาย มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green and Clean University)  สนับสนุนการดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการปลูกต้นไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ และมีเจ้าหน้าที่งานภูมิทัศน์ ส่วนอาคารสถานที่ ดูแลพื้นที่สีเขียวบริเวณอาคารบรรณสาร [แบบฟอร์ม] รวมทั้ง ดูแลการตัดหญ้ารอบอาคารบรรณสาร 1 ครั้ง/เดือน หรือในกรณีมีกิจกรรมพิเศษ สามารถแจ้งขอใช้บริการล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วันทำการ ทั้งนี้ การตัดหญ้าโดยใช้เครื่องตัดหญ้าอาจทำให้เกิดเสียงดังในระหว่างปฏิบัติงาน อาจมีการเลื่อนช่วงระยะเวลาการตัดหญ้า ก่อนหรือหลัง ตามความเหมาะสม ในช่วงที่มีการสอบ เนื่องจากมีผู้มาใช้บริการอาคารบรรณสารจำนวนมาก

          ทั้งนี้ ได้มีการสาธิตและให้ความรู้ใน กิจกรรมจับมือทำ…จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง [ เอกสารโครงการ ] [ ภาพกิจกรรม ] เพื่อใช้ในกิจกรรมของศูนย์บรรณสารฯ ในการปลูกต้นไม้ ได้คัดเลือกพืช ที่นำมาปลูกดังนี้

ปีงบประมาณ 2563

          1. พืชพื้นถิ่น เช่น กระถินพิมาน แคนา  แจง ตะโกนา  พุทรา และสะเดา
          2. พืชที่ช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจก โดยเลือกปลูกไม้ประดับที่ดูแลง่ายและช่วยในการดักฝุ่นละออง มลพิษคาร์บอนไดออกไซค์จากลานจอดรถที่อาจเข้ามาในสำนักงาน นอกจากนี้มีการจัดทำฐานข้อมูลพฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พร้อมกับการรณรงค์ให้บุคลากรปลูกไม้ประดับบนโต๊ะทำงานเพื่อลดมลพิษ และเป็นไม้ฟอกอากาศ โดยมีดังตัวอย่างกิจกรรม ได้แก่
                  1) กิจกรรมการเปลี่ยนขวดเก่าเป็นกระถางใหม่
                  2) โครงการ/กิจกรรมครบรอบ 30 ปี ปลูกต้นม่วงสาหรี่ ศรีบรรณสาร [ เอกสารโครงการ ] [ ภาพกิจกรรม ]
          3. พืชใช้น้ำน้อย เช่น จามจุรี ทองกวาว ปีบ ปีบทอง (ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย) พิกุล ลำดวน สนแผง สาธร ศรีตรัง หางนกยูง เป็นต้น
          4. พืชที่ใช้ประโยชน์เพื่อเป็นอาหาร เช่น เตยหอม ใบชะพลู เล็บครุฑลังกา  และอัญชัน ดังตัวอย่างกิจกรรม ได้แก่
                  1) โครงการ/กิจกรรมการปลูกสมุนไพรเตยหอม [ เอกสารโครงการ ] [ ภาพกิจกรรม ]
                  2) โครงการ/กิจกรรมการปลูกเล็บครุฑลังกา [ เอกสารโครงการ ] [ ภาพกิจกรรม ]          
                  3) โครงการ/กิจกรรมการปลูกสมุนไพรอัญชัน [ เอกสารโครงการ ] [ ภาพกิจกรรม ] [ การทำน้ำอัญชันมะนาว ]

          5. จัดการภูมิทัศน์ให้มีความร่มรื่นและสวยงาม [ ภาพกิจกรรม ]


ปีงบประมาณ 2564

          1.  โครงการ/กิจกรรมการปลูกกล้วยไม้เอื้องกุหลาบโคราช [ เอกสารโครงการ ] [ ภาพกิจกรรม ] 


ปีงบประมาณ 2565

          1. วันที่ 17 มิถุนายน 2565 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา นำโดย อ.ดร. ณัฏฐญา เผือกผ่อง ผู้อำนวยการ  ผศ. ดร. โศรฎา แข็งการ รองผู้อำนวยการ พร้อมตัวแทนพนักงาน ร่วมปลูก ต้นจามจุรี ต้นไม้เพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ลดโลกร้อน เพื่อร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ “มทส. ขับเคลื่อนสู่การเป็นมหาวิทยาลัยคาร์บอนต่ำ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ทั้งนี้  ศบส. ได้รับกล้าไม้ต้นจามจุรีจากกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก และ SUT SDGs Day 6 มิถุนายน 2565 จัดโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี [ภาพกิจกรรม]

          2. วันที่ 31 ส.ค. 2565 ปลูกต้นไม้ฟอกอากาศช่วยดูดซับมลพิษ และไม้มงคลเสริมบารมี ชื่อเสียง เงินทอง เพื่อเพิ่มที่สีเขียวบริเวณพื้นที่ทางเดิน ด้านตึกอาคารบรรณสาร 1 หลังห้องฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อลดมลพิษ เช่น กวักมรกต ออมเงิน ออมทอง ต้นเงินไหลมา หรือ ซิงโกเนียม เป็นต้น [ภาพกิจกรรม]

 


ปีงบประมาณ 2566

          1. กิจกรรมปุ๋ยหมักจากเศษหญ้าใบไม้แห้ง วัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงดินบริเวณสวนหย่อมหน้าอาคารบรรณสาร 2 โดยรวบรวมขยะใบไม้แห้งที่ร่วงจากต้นไม้รอบ ๆ อาคารบรรณสาร เช่น ใบจามจุรี เศษหญ้าจากการตัดหญ้าบริเวณรอบอาคาร นำมากองรวมกัน รองพื้นด้วยมูลสัตว์ รดน้ำให้ชุ่ม และรดด้วยหัวเชื้อน้ำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง พลิกกลับกองปุ๋ยให้อากาศถ่ายเท เมื่อเศษใบไม้แห้งเริ่มย่อยสลาย ประมาณ 30 วัน ไถพรวนดิน พร้อมปลูกไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ต้นทานตะวัน Cosmos ดาวกระจาย เป็นต้น [ภาพกิจกรรม]

แผนผังพื้นที่สีเขียวศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา