หมวดที่ 8 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย

   ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาได้มีการดำเนินการการจัดการสภาพแวดล้อมอย่างเหมาะสม การควบคุมมลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง และความพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน ดังนี้    ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการจัดบริการห้องสมุดและสื่อการสื่อศึกษา เพียงแห่งเดียวของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีอาคารสำหรับดำเนินงานสำนักงานและอาคารสำหรับให้บริการรวม 2 อาคาร กล่าวคือ

          อาคารบรรณสาร 1 เปิดดำเนินการ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 เป็นอาคารสูง 3 ชั้น มีพื้นที่ทั้งหมด จำนวน 6,828 ตารางเมตร 

          อาคารบรรณสาร 2 เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นอาคารสูง 4 ชั้น มีพื้นที่ทั้งหมด จำนวน 7,993 ตารางเมตร

         ทั้งนี้ในการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินห้องสมุดสีเขียว หมวดที่ 2 โครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา จัดอยู่ในประเภทอาคารเก่า พื้นที่ดำเนินการประกอบด้วย อาคารบรรณสาร 1 และอาคารบรรณสาร 2 (แผนผังอาคารบรรณสาร) รวมทั้งสิ้น 19,421 ตารางเมตร พื้นที่สำนักงาน (อาคาร) 14,821 ตารางเมตร และพื้นที่รอบสำนักงาน (อาคาร) ที่เกี่ยวข้อง 4,600 ตารางเมตร) ศูนย์บรรณสารฯ ได้ดำเนินการ ดังนี้

    8.1 อากาศในสำนักงาน

       8.1.1 การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน เช่น จุลชีพ (ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เชื้อราเชื้อแบคทีเรีย) 
      – มีแผนการดูแลบำรุงรักษา ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ รถยนต์ ปั๊มดูดน้ำ เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องพิมพ์เอกสาร
      – มีการควบคุมมลพิษทางอากาศ และใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ
      – การจัดวางเครื่องพิมพ์เอกสาร และเครื่องถ่ายเอกสาร (Printer) โดยมีการตั้งเครื่องเว้นระยะห่างจากผู้ปฏิบัติงาน หากมีการกั้นกระจกห้องถ่ายเอกสาร ได้ติดตั้งพัดลมระบายอากาศ ติดรายชื่อผู้รับผิดชอบ พร้อมแนวปฏิบัติ และมีต้นไม้ดูดสารพิษตามความเหมาะสม                
      – การควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน เช่น การติดป้ายดับเครื่องยนต์

      – มีการสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพิษทางอากาศจากกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย (สามารถพิจารณาจากเอกสารหรือภาพถ่ายเป็นหลักฐานประกอบ)

8.1.2 มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนดพื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสม

 8.1.3 การจัดการมลพิษทางอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุง อาคารหรืออื่น ๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน               

      – มีที่กั้นเพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศที่จะส่งผลกระทบกับพนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
      – มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย

8.2 แสงในสำนักงาน

       8.2.1 มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างประจำปี พร้อมแสดงผลการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างเฉพาะจุดทำงานและพื้นที่ทำงาน ด้วยเครื่องวัดความเข้มของแสงสว่างมีมาตรฐานและได้รับการสอบเทียบ และผลการตรวจวัดเป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายกำหนด

8.3 เสียง

      การควบคุมมลพิษทางเสียงภายในอาคารสำนักงาน มีมาตรการจัดการเสียงดังจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน เช่น
– มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
– มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือนเพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย

8.4 ความน่าอยู่

      การจัดการความน่าอยู่ของสำนักงาน โดยศูนย์บรรณสารฯ ได้ดำเนินการจัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งในตัวอาคารและนอกอาคาร โดยกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน เช่น 

     – พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ
     – พื้นที่ส่วนรวม
     – การจัดกิจกรรม 7ส พร้อมทั้งมี กิจกรรม Big Cleaning Day เป็นประจำทุกปี
      พื้นที่ทำงาน รณรงค์ให้บุคลากรปลูกไม้ฟอกอากาศ เพื่อประดับบนโต๊ะทำงานลดมลพิษ พักสายตา เช่น ลิ้นมังกร กวักมรกต ว่านหางช้าง และพลูด่าง
     – พื้นที่สีเขียว ศูนย์บรรณสารฯ ได้กำหนดพื้นที่สีเขียว ที่มีการรักษาพืชพื้นถิ่น เช่น กระถินพิมาน แคนา แจง ตะโกนา พุทรา และสะเดา เป็นต้น พร้อมทั้งวางแผนกำหนดการปลูกต้นไม้รอบ ๆ อาคารบรรณสาร ให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจน ทำให้อากาศรอบ ๆ อาคารบรรณสารมีความเย็นสบาย นอกจากนี้ยังมีการปลูกพืชที่ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเลือกปลูกไม้ประดับภายในอาคารที่ดูแลง่าย ในกิจกรรม เช่น
     – สัตว์พาหะนำโรค
มีแบบฟอร์มรายงานการตรวจสอบร่องรอยสัตวพาหะนำโรค

8.5 การเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน

     – มีการจัดทำแผน และกำหนดการอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อจัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย อาคารบรรณสาร และดำเนินการจัดการฝึกซ้อมแผนดับเพลิงและอพยพหนีไฟ คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานป้องกันและเตรียมความพร้อมต่อภาวะฉุกเฉิน ศูนย์บรรณสารฯ
     – มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมและอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง [2565, 2567]                    
     – มีการฝึกซ้อมอพยพตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรอง [2565, 2567] ภาพถ่าย [2565, 2567] เป็นต้น


     – จุดรวมพลที่สามารถรองรับได้ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน