แนวทางเชิงปฏิบัติ (10 คะแนน)
6.1 กำหนดให้มีแผนงานพัฒนาห้องสมุดสีเขียว โดยผู้บริหารห้องสมุด รวมทั้งรับฟังความเห็นจากบุคลากรและผู้รับบริการ และเสนอให้คณะกรรมการประจำหน่วยงาน [2563][2564][2565] ตลอดจนผู้บริหารระดับเหนือชั้นขึ้นไปรับทราบ ชี้แจงบทบาทด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มรับทราบ ได้แก่ บุคลากร ผู้รับบริการ และผู้ประกอบการ [2563][2564][2565][2566]
6.2 กำหนดให้มีแผนพัฒนาความรู้ ให้กับบุคลากร [2563][2564][2565] โดยบุคลากรห้องสมุดจะต้องเข้าร่วมการอบรม หรือเข้าร่วมการประชุมสัมมนา และกำหนดภาระงานให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและจัดกิจกรรม หรือศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
6.2.1. ขอบเขตและนิยามการพัฒนาความรู้บุคลากร
การพัฒนาความรู้บุคลากรมีเนื้อหาครอบคลุม 1) การศึกษาดูงาน [ 2563 ][ 2564 – 2565] [2566] โดยการเรียนรู้จากแนวปฏิบัติ ประสบการณ์ของผู้อื่นจากห้องสมุดหรือหน่วยงาน 2) การฝึกอบรม [ 2563 ] [ 2564 ] [ 2565 ] [ 2566 ] และสัมมนา [ 2563 ] [ 2564 ] [ 2565 ] [ 2566 ] โดยการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความสามารถด้วยตนเอง 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ [ 2563 ] [ 2564 ] [ 2565 ] [ 2566 ]และเครือข่ายการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (สรุปจำนวนและรายชื่อการพัฒนาความรู้บุคลากร [.2563 ] [.2564 ] [ 2565 ] [ 2566 ]
6.2.2 ข้อมูลบุคลากร บุคลากร จำนวนทั้งสิ้น 58 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 2 คน พนักงาน 56 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย. 65)
6.2.3 ความรู้ที่ได้จากการพัฒนาบุคลากร จากการกำหนดนโยบายส่งเสริมและปลูก จิตสำนึกให้บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว จึงกำหนดให้บุคลากรพัฒนาความรู้โดยการศึกษาดูงาน เข้าร่วมฝึกอบรมและสัมมนา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บุคลากรได้รับความรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมดังนี้ [ 2563 ] [ 2564 ] [ 2565 ] [ 2566 ]
6.2.4 ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ จากการกำหนดให้บุคลากร ผู้ประกอบการ มีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และรณรงค์ให้ผู้รับบริการรับทราบ การดำเนินการโครงการห้องสมุดสีเขียวตามแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ทำให้บุคลากร ผู้รับบริการ ผู้ประกอบการได้ความรู้และนำไปใช้ประโยชน์พัฒนาห้องสมุดสีเขียวดังนี้ [ 2563 ] [ 2564 ] [2565] [ 2566 ]
6.2.5 แหล่งสารสนเทศพัฒนาความรู้
6.2.6 ตัวอย่างผลงาน/นวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลสืบเนื่องจากได้รับความรู้และนำความรู้มาใช้ประโยชน์ในการดำเนินโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) และโครงการห้องสมุดสีเขียว (Green Library) รวมถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมส่งผลให้ศูนย์บรรณสารฯ ได้ผลงาน/นวัตกรรมฯ ดังนี้
ปี 2563
1) นวัตกรรมการจัดการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาสู่ห้องสมุดสีเขียว
2) นวัตกรรมผลิตภัณฑ์สีเขียว
3) นวัตกรรมกระบวนการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาสู่ห้องสมุดสีเขียว
4) นวัตกรรมบริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาสู่ห้องสมุดสีเขียว
ปี 2564
1) นวัตกรรมทางความคิดแบบหมวกสีเขียว
2) นวัตกรรมการจัดการ
3) นวัตกรรมผลิตภัณฑ์สีเขียว
4) นวัตกรรมกระบวนการ
ปี 2565
1) นวัตกรรมการจัดการ
2) นวัตกรรมกระบวนการ
ปี 2566
1) นวัตกรรมการจัดการ
2) นวัตกรรมผลิตภัณฑ์สีเขียว
3) นวัตกรรมกระบวนการ
6.3 กำหนดให้มีแผนงานและดำเนินการขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการ [2563] [2564] [2565] [2566] ที่ดำเนินการในอาคารห้องสมุด หรือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับกิจการห้องสมุด ดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการว่าจ้าง (Term of Reference: TOR) หรือตามรายละเอียดที่ห้องสมุดกำหนด
6.3.1 นิยามและขอบเขตผู้ประกอบการ
ผู้ประกอบการ หมายถึง แม่บ้านทำความสะอาดอาคาร พนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานดูแล ภูมิทัศน์ ผู้จัดการบริษัท/ร้านจำหน่ายหนังสือ ฐานข้อมูล จำนวนทั้งสิ้น 26 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ม.ค. 2566)
6.3.2 นิยามและขอบเขตการให้ความร่วมมือของผู้ประกอบการ
การให้ความร่วมมือของผู้ประกอบการ หมายถึง การรับทราบนโยบายส่งเสริมศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาสู่ห้องสมุดสีเขียว คำชี้แจง [2563] [2564] [2565] [2566] บทบาทด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของศูนย์บรรณสารฯ และให้ความร่วมมือดำเนินกิจกรรมตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการว่าจ้าง (TOR)
6.4 กำหนดให้มีแผนและดำเนินการแจ้งให้ผู้รับบริการรับทราบนโยบายและขอความร่วมมือในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม [การมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ]