ย้อนกลับ

              จากการมีส่วนร่วมดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของบุคลากร ภายใต้โครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) โครงการห้องสมุดสีเขียว (Green Library) บุคลากรและผู้ประกอบการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาศูนย์บรรณสารฯ ให้เป็นหน่วยงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมดังนี้

ความรู้ด้านพลังงาน

  1. การอนุรักษ์พลังงาน เป็นความรู้ที่ได้มาจากการมีส่วนร่วม [ประกาศเรื่องมาตรการประหยัด] [การศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว] และนำไปใช้ประโยชน์ในการติดตั้งสวิตช์กระตุก ชุดควบคุมเปิด-ปิดไฟฟ้าแสงสว่างอัตโนมัติ
  2. การประหยัดพลังงานไฟฟ้า เป็นความรู้ที่ได้มาจากการมีส่วนร่วม [การศึกษาดูงานห้องสมุดสีเขียว] และนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดมาตรการประหยัดไฟฟ้า ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. 2563

ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม

  1. การจัดการขยะ เป็นความรู้ที่ได้มาจากการมีส่วนร่วม [การจัดการความรู้เรื่องการจัดการขยะด้วย วิธีการ 3R] [การฝึกอบรมออนไลน์] และนำไปใช้ประโยชน์ในการคัดแยกและทิ้งตามประเภทของขยะให้ถูกต้อง การลดปริมาณพลาสติกภายในอาคาร การจัดการขยะเป็น [แผนปฏิบัติการ “Zero Waste” พ.ศ. 2562 – 2564 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี] ที่มีเป้าหมายลดปริมาณขยะและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งการจัดการขยะเป็นผลสืบเนื่องมาจากการวิเคราะห์อุปสรรคและจุดอ่อนใน SWOT ของศูนย์บรรณสารฯ และเป็นหนึ่งปัญหาระดับประเทศที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายเห็นชอบให้หน่วยงานทุกภาคส่วนสร้าง วัฒนธรรมการคัดแยกขยะใช้วัสดุพลาสติกให้น้อยลง และใช้ประโยชน์จากขยะ ดังนั้นหากสามารถจัดการขยะได้ดี จะทำให้ปริมาณขยะน้อยลง ประหยัดงบประมาณ ทรัพยากรและพลังงานจัดการกับขยะ และช่วยให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น จากความสำคัญดังกล่าวจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการกำหนดหัวข้อให้ความรู้แก่บุคลากร ผู้รับบริการ ผู้ประกอบการ ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ และนำไปใช้ประโยชน์พัฒนาห้องสมุดสีเขียวดังนี้

              การประดิษฐ์ด้วยเศษวัสดุ เป็นความรู้ที่ได้มาจากการมีส่วนร่วมจากการนำเศษวัสดุเหลือใช้ กลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) หรือของเสียที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานภายในศูนย์บรรณสารฯ เพื่อลดปริมาณขยะให้เหลือน้อยที่สุดที่กำหนดจัดกิจกรรมภายใน [งาน SUT Green Library Fair 2019] ใช้เศษวัสดุกระดาษ เศษผ้า ซึ่งเป็นการใช้วัสดุสิ้นเปลืองให้คุ้มค่าตาม [มาตรการประหยัดของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี] นำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดจุดคัดแยกขยะ พัฒนาผลงานและนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว (ตัวอย่างผลงาน/นวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในข้อ 6.2.6) สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม ได้แก่ การทำถุงใส่ยา การ์ดรักษ์โลก หูหิ้วแก้วน้ำ กระถางต้นแคตตัส เป็นต้น 
              รวมทั้งต่อยอดไปถึงการจัดกิจกรรมปฏิทินเพื่อน้อง นำไปมอบให้โรงเรียนการศึกษาคนตาบอดนครราชสีมา สำหรับใช้ทำบัตรอักษรหรือสมุดอักษรเบลล์ให้นักเรียนผู้พิการทางสายตา กิจกรรม DIY BY WASTE MATERIAL กิจกรรม RECYCLE FOR FRIEND กิจกรรมปลูกผักสวนครัวอายุสั้น ไม่กี่วันก็ทานได้ 

  2. น้ำหมักชีวภาพ เป็นความรู้ที่ได้มาจากการมีส่วนร่วม [การจัดการความรู้เรื่องการจัดการขยะด้วย วิธีการ 3R] และนำไปใช้ประโยชน์ในการทบทวนปัจจัยที่เกี่ยวข้องการทำน้ำหมักชีวภาพ เช่น สภาพ สี กลิ่น และผู้รับผิดชอบ ผลจากการทบทวนและวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้พื้นที่ของผู้รับบริการด้วยการสังเกตพบว่า บริเวณที่ตั้งถังหมักอยู่ใกล้พื้นที่นั่งอ่านผู้รับบริการ กลิ่นของน้ำหมักชีวภาพอาจส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของผู้รับบริการ จึงปรับเปลี่ยนเป็นกิจกรรมจับมือทำ…จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง 
              การทบทวนปัจจัยที่เกี่ยวข้องยังได้ข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการทำถังหมักรักษ์โลกและทำปุ๋ยจากเศษอาหารระยะที่ 2 ของการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว

  3. ดัชนีคุณภาพอากาศ เป็นความรู้ที่ได้มาจากการมีส่วนร่วม [การตรวจวัดเชื้อราและแบคทีเรียภายใน อาคารบรรณสาร] และนำไปใช้ประโยชน์การกำหนดแผนทำความสะอาดแผ่นกรองเครื่องปรับอากาศ กิจกรรมการให้ความรู้ คำแนะนำและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง ระบบเครื่องปรับอากาศของอาคารบรรณสาร

  4. คุณภาพแสงสว่างภายในอาคาร เป็นความรู้ที่ได้มาจากการมีส่วนร่วม [รายงานผลการตรวจวัดความ เข้มแสงสว่าง] และนำไปใช้ประโยชน์ในการย้ายหรือสลับตำแหน่งหลอดไฟ เปลี่ยนหลอดไฟ ทำความสะอาดหลอดไฟเป็นประจำ ติดหลอดไฟบริเวณโต๊ะอ่านหนังสือนักศึกษาและระหว่างชั้นหนังสือที่มีความเข้มของแสงสว่างไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

  5. การปลูกต้นไม้ เป็นความรู้ที่ได้มาจากการมีส่วนร่วมเพิ่มพื้นที่สีเขียว เช่น ปลูกพืชพื้นถิ่น พืชใช้น้ำ น้อย พืชที่ใช้ประโยชน์เป็นอาหาร และกิจกรรมที่ส่งเสริมให้มีภูมิทัศน์ร่มรื่นสวยงาม

  6. ภาวะฉุกเฉิน เป็นความรู้ที่ได้มาจากการมีส่วนร่วม [กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์เตือนไฟใหม้ ประจำอาคารบรรณสาร] และนำไปใช้ประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมต่อภาวะฉุกเฉินเพื่อให้อุปกรณ์ต่างๆ พร้อมใช้งานอยู่เสมอ