แนะนำบริการห้องสมุด - ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา




บริการห้องสมุด ข้อแนะนำในการเข้าใช้ห้องสมุด
ระเบียบการใช้บริการ ทรัพยากรสารสนเทศที่จัดให้บริการ
การจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด การเรียงลำดับหนังสือบนชั้น
สิทธิ์ในการยืมและค่าปรับ หนังสือแนะนำศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา (eBook)
วีดิทัศน์แนะนำบริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา


บริการห้องสมุด

สมัครสมาชิก อบรม
ยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ     |     SUT Lib Book Delivery e-Resource (ฐานข้อมูลออนไลน์)
นำส่งทรัพยากรสารสนเทศ (สำหรับคณาจารย์) สืบค้นฐานข้อมูลจากภายนอกมหาวิทยาลัย
ยืมต่อหนังสือ (Renew) คลังปัญญา มทส. (SUTIR)
ยืมระหว่างห้องสมุด | ยืมผ่านเครือข่าย NARINET สืบค้นสารสนเทศ
จองห้องค้นคว้าเดี่ยว/ค้นคว้ากลุ่ม/ทบทวนกลุ่ม วิเคราะห์การอ้างอิง (Citation Analysis Service)
Video on Demand     |     ตรวจสอบสถานะและจอง ทรัพยากรสารสนเทศ มทส.
หนังสือสำรอง     |    แจ้งสำรองหนังสือ (สำหรับคณาจารย์) สารสนเทศประกอบรายวิชา
สิ่งอำนวยความสะดวก แนะนำหนังสือเข้าห้องสมุด
บริการ E-mail/SMS Alert ขอข้อมูลรายการบรรณานุกรม (CIP)/ISBN, ISSN
พื้นที่นั่งอ่าน
Go to top

ข้อแนะนำในการเข้าใช้ห้องสมุด

  1. โปรดแต่งกายสุภาพ
  2. เมื่อจะเข้าห้องสมุดให้รูดบัตรหรือทาบบัตรหรือสแกนนิ้วมือที่เครื่องอ่านบัตรประตูทางเข้า
  3. ห้องสมุดจะไม่รับฝากสิ่งของมีค่า และจะไม่รับผิดชอบต่อสิ่งของมีค่าที่สูญหายหรือเสียหายเพราะผู้มาใช้บริการวางไว้ในห้องสมุด
  4. ห้ามนำอาหาร ขนม และเครื่องดื่มเข้าห้องสมุด
  5. ให้เปลี่ยนสัญญาณเรียกเข้าของโทรศัพท์เป็นระบบสั่นและใช้โทรศัพท์ในบริเวณที่ห้องสมุดจัดไว้ให้
  6. ห้ามสูบบุหรี่ในบริเวณห้องสมุด
  7. ต้องมีความเคารพต่อสถานที่ด้วยการสำรวมกิริยาวาจา ไม่ส่งเสียงดังหรือกระทำการใดๆ อันอาจเป็นที่รำคาญของผู้อื่น
  8. ผู้ใช้บริการสามารถหยิบหนังสือเล่มที่ต้องการจากชั้นได้เอง โดยปฏิบัติตามโครงการหนังสือพร้อมใช้
  9. หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และวารสาร เมื่ออ่านเสร็จแล้วให้เก็บคืนตามป้ายชื่อของสิ่งพิมพ์ที่ติดอยู่บนชั้นวาง
  10. ห้ามขีด เขียน ตัด ฉีก ทำลาย หรือทำให้ไร้ค่าซึ่งทรัพยากรสารสนเทศ
  11. ห้ามนำทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดออกจากห้องสมุดโดยไม่ได้รับอนุญาต
Go to top

ระเบียบการใช้บริการ

Go to top

ทรัพยากรสารสนเทศที่จัดให้บริการ

        ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ อาทิ หนังสือตำรา เรื่องสั้น นวนิยาย หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน ในระบบชั้นเปิด บริเวณชั้น 2 และ ชั้น 3 ของอาคารบรรณสาร โดยมีการจัดระบบหมวดหมู่ที่เหมาะสมกับลักษณะของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภท เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บ การค้นหาและการให้บริการ ดังนี้


หนังสือตำรา
        ใช้ระบบการจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification System: LC) แบ่งหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศตามเนื้อหาวิชาความรู้ของสิ่งพิมพ์ออกเป็น 21 หมวดใหญ่ โดยใช้อักษรโรมันและตัวเลขเป็นสัญลักษณ์แทนเนื้อหาวิชา
        หากเป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทตำราวิชาการด้านการแพทย์ ใช้ระบบการจัดหมวดหมู่ ระบบ หอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National Library of Medicine: NLM) โดยแบ่งหมวดหมู่พื้นฐานด้านการแพทย์ ออกเป็น 8 หมวด ได้แก่ QS-QZ และสาขาที่เกี่ยวข้อง 35 หมวด คือ W-WZ โดยใช้อักษรโรมันผสมกับตัวเลขอารบิค เป็นสัญลักษณ์
        นอกจากนี้ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้จัดให้มีบริการมุมสารสนเทศเฉพาะทาง ดังนี้
 

สารสนเทศด้านเศรษฐศาสตร์และการลงทุน ใช้สัญลักษณ์ SET (Stock Exchange of Thailand)
สารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใช้สัญลักษณ์ STI (Science Technology and Innovation)
สารสนเทศท้องถิ่นนครราชสีมา ใช้สัญลักษณ์ นม หรือ NM (Nakhon Ratchasima)
สารสนเทศด้านสิทธิมนุษยชนศึกษา ใช้สัญลักษณ์ NHRC (National Human Rights Commission)


ทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่ใช่หนังสือตำรา
        ทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่ใช่หนังสือตำราวิชาการ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา กำหนดให้ใช้ตัวอักษรเป็นสัญลักษณ์แทนการใช้เลขหมวดหมู่เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการจัดหมวดหมู่ ดังนี้
 

เรื่องสั้น ใช้สัญลักษณ์ รส หรือ SC (Short Story Collection)
นวนิยาย ใช้สัญลักษณ์ นว หรือ Fic (Fiction)
หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน ใช้สัญลักษณ์ ย หรือ JV (Juvenile)
ซีดีรอม ใช้สัญลักษณ์ CD
แผนที่ ใช้สัญลักษณ์ MAP
โครงการศึกษา มทส. ใช้สัญลักษณ์ มทส. Project + สาขาวิชา
รายงานการฝึกงาน ณ สถานประกอบการ ใช้สัญลักษณ์ มทส. Coop + สาขาวิชา
วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท มทส. ใช้สัญลักษณ์ มทส. Thesis + สาขาวิชา
วิทยานิพนธ์ ปริญญาเอก มทส. ใช้สัญลักษณ์ มทส. Diss + สาขาวิชา
รายงานการวิจัยของบุคลากร มทส. แต่เนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน มทส. ใช้สัญลักษณ์ มทส. + Research + สาขาวิชา


วารสาร / หนังสือพิมพ์ / นิตยสาร
        วารสาร ให้บริการแบบชั้นเปิดบริเวณ ชั้น 3 ของอาคารทั้งวารสารฉบับใหม่ และฉบับย้อนหลัง สำหรับวารสารฉบับย้อนหลัง ห้องสมุดจะรวมเล่มเป็นวารสารเย็บเล่มและนำขึ้นชั้นบริการแยกจากวารสารฉบับใหม่
        หนังสือพิมพ์/นิตยสาร ให้บริการแบบชั้นเปิด จัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อ ฉบับปัจจุบันให้บริการ ณ ชั้น 1 ฉบับย้อนหลังให้บริการ ณ ชั้น 2 อาคารบรรณสาร

Go to top

การจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด

        การจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด หมายถึง การนำเอาทรัพยากรสารสนเทศมาจัดแยกประเภทของแต่ละสาขาวิชาอย่างกว้างๆ โดยเล่มที่มีเนื้อหาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน โดยการแทนเนื้อหาของแต่ละเล่มด้วยตัวอักษรและตัวเลข เช่น QA76.73 C12 อ7ค 2547 เป็นต้น มีดังนี้

หมวดหมู่ตามระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification System: LC)
A ความรู้ทั่วไป
B ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา
C ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์
D ประวัติศาสตร์ยุโรป
E-F ประวัติศาสตร์อเมริกา
G ภูมิศาสตร์ โบราณคดี นันทนาการ
H สังคมศาสตร์
J รัฐศาสตร์
K กฎหมาย
L การศึกษา
M ดนตรี
N วิจิตรศิลป์
P ภาษาและวรรณคดี
Q วิทยาศาสตร์
S เกษตรศาสตร์
T เทคโนโลยี
U ยุทธศาสตร์
V นาวิกศาสตร์
Z บรรณานุกรมและบรรณารักษศาสตร์


หมวดหมู่ตามระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National Library of Medicine: NLM)
โดยแบ่งหมวดหมู่พื้นฐานด้านการแพทย์ ออกเป็น 8 หมวด ได้แก่ QS-QZ และสาขาที่เกี่ยวข้อง 35 หมวด คือ W-WZ
QS-QZ สุขภาวะเบื้องต้น (Pre-Clinic)
W แพทยศาสตร์
Go to top

การเรียงลำดับหนังสือบนชั้น

  1. เรียงหนังสือจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก
  2. จัดเรียงหนังสือจากซ้ายไปขวาทีละช่องชั้นวางหนังสือ และเรียงจากชั้นบนลงชั้นล่าง
  3. หนังสือที่เลขหมู่ซ้ำกันหรือเลขหมู่เดียวกัน จะเรียงตามอักษรย่อของชื่อผู้แต่ง หรือเลขผู้แต่ง
  4. หนังสือที่มีหลายเล่มซ้ำกันจัดเรียงตามฉบับ (ฉ.) ตามลำดับน้อยไปหามาก หรือตาม copy 1 2 3 4…
  5. หนังสือที่มีหลายเล่มจบจัดเรียงตามลำดับเล่มที่ ดังตัวอย่างข้างล่างนี้
LB
99.7
K522
2005
V.1
LB
99.7
K522
2005
V.1 C.2
LB
99.7
K522
2005
V.2
LB
99.7
K522
2005
V.2 C.2
Go to top

สิทธิ์ในการยืมและค่าปรับ

พนักงาน / นักศึกษาปริญญาตรี
ประเภททรัพยากรสารสนเทศ จำนวนที่ให้ยืม กำหนดส่งคืน ค่าปรับ/เล่ม/วัน
สื่อสิ่งพิมพ์ ไม่เกิน 10 รายการ ภายใน 2 สัปดาห์ 5 บาท
สื่อไม่ตีพิมพ์ ไม่เกิน 5 รายการ ภายใน 2 สัปดาห์ 5 บาท
หนังสือสำรอง ไม่เกิน 2 รายการ ภายในวันรุ่งขึ้นที่เปิดให้บริการ 5 บาท
นิตยสาร (ฉบับย้อนหลัง) และจุลสาร ไม่เกิน 5 ฉบับ ภายใน 1 สัปดาห์ 3 บาท

นักศึกษาบัณฑิตศึกษา
ประเภททรัพยากรสารสนเทศ จำนวนที่ให้ยืม กำหนดส่งคืน ค่าปรับ/เล่ม/วัน
สื่อสิ่งพิมพ์ ไม่เกิน 20 รายการ ภายใน 3 สัปดาห์ 5 บาท
สื่อไม่ตีพิมพ์ ไม่เกิน 5 รายการ ภายใน 3 สัปดาห์ 5 บาท
หนังสือสำรอง ไม่เกิน 2 รายการ ภายในวันรุ่งขึ้นที่เปิดให้บริการ 5 บาท
นิตยสาร (ฉบับย้อนหลัง) และจุลสาร ไม่เกิน 5 ฉบับ ภายใน 1 สัปดาห์ 3 บาท

สมาชิกกิตติมศักดิ์ / คณาจารย์ประจำ / คณาจารย์พิเศษ / นักวิจัย
ประเภททรัพยากรสารสนเทศ จำนวนที่ให้ยืม กำหนดส่งคืน ค่าปรับ/เล่ม/วัน
สื่อสิ่งพิมพ์ ไม่เกิน 30 รายการ ภายในสิ้นภาคการศึกษาที่ยืม 5 บาท
สื่อไม่ตีพิมพ์ ไม่เกิน 5 รายการ ภายในสิ้นภาคการศึกษาที่ยืม 5 บาท
หนังสือสำรอง ไม่เกิน 2 รายการ ภายในวันรุ่งขึ้นที่เปิดให้บริการ 5 บาท
นิตยสาร (ฉบับย้อนหลัง) และจุลสาร ไม่เกิน 5 ฉบับ ภายใน 1 สัปดาห์ 3 บาท

นักเรียน / ผู้เกษียณอายุ / บุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานให้มหาวิทยาลัย / บุคคลภายนอก
ประเภททรัพยากรสารสนเทศ จำนวนที่ให้ยืม กำหนดส่งคืน ค่าปรับ/เล่ม/วัน
สื่อสิ่งพิมพ์ ไม่เกิน 5 รายการ ภายใน 2 สัปดาห์ 5 บาท
สื่อไม่ตีพิมพ์ ไม่เกิน 3 รายการ ภายใน 2 สัปดาห์ 5 บาท
หนังสือสำรอง ไม่เกิน 2 รายการ ภายในวันรุ่งขึ้นที่เปิดให้บริการ 5 บาท
นิตยสาร (ฉบับย้อนหลัง) และจุลสาร ไม่เกิน 5 ฉบับ ภายใน 1 สัปดาห์ 3 บาท
Go to top

หนังสือแนะนำศูนย์บรรณสารฯ (eBook)

Go to top